วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 


ความรู้ที่ได้รับ


     คุณครูให้นักศึกษานำแผนการสอนของกลุ่มตนเองตั้งแต่แผนการสอนของวันจันทร์วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยคนที่เขียนแผนที่วันเดียวกับเพื่อนให้ดูของเพื่อนเป็นตัวอย่าง เพราะแต่ละวันจะออกแนวกับสอนคล้ายๆกัน ซึ่งเพื่อนๆเป็นนักเรียนเพื่อสามารถดำเนินแผนการสอนให้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
- วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า เรื่องของชนิดกระเป๋า






- วันอังคาร กลุ่มบ้าน เรื่องของลักษณะบ้าน
- วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ เรื่องของการดูแลรักษายานพาหนะ

- วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย เรื่องประโยชน์ของกระต่าย
- วันศุกร์ กลุ่มเสื้อ เรื่องข้อพึงระวังของเสื้อ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


     ตั้งแต่วิธีการเขียนแผนที่ถูกต้องไปจนถึงวิธีการสอนว่าแต่ละวันมีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถนำไปบูรณาการได้อย่างไรบ้าง


การประเมินผล


ตนเอง :  วันนี้ได้เป็นคนสอนให้กับเพื่อนๆในวันซึ่ง ข้อผิดพลาดเป็นประสบการณืที่ดี ได้ลองสอนจริงๆ

เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อาจารย์ :  อาจารย์เป็นผู้ดูการสอน ซึ่งตรงไหนที่นักศึกษาควรปรับอาจารย์ก็จะบอกหลังสอนเสร็จ อย่างดิฉัน สอนมากเกินกว่าเนื้อหาที่เตรียมมาอาจารย์ก็จะบอกว่า เนื้อหาที่เราเตรียมมามีแค่ไหนเอาแค่นั้น เพราะเรื่องที่เราไม่ได้ตรียมมาเป็นเนื้อหาการสอนในวันอื่นๆ แต่ควรจะสอนเนื้อหาที่เตรียมมาในวันนี้อย่างเต็มที่


อ้างอิง มาจาก นางสาว จุฑาทิพย์ ตาบุญมา เนื่องจากไม่ได้มาเรียน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14



วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 

ความรู้ที่ได้รับ 

    คุณครูให้นักศึกษานำเสนอบทความ วิดีโอการสอน และวิจัย และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และคุณครูให้นักศึกษาตอบคำถามลงในกระดาษ เกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า โดยครูให้บอกและยกตัวอย่างสามารถอธิบายวิธีการสอนของคุณครูด้วย โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น ถ้าคนไหนยังอธิบายผิดคุณครูก็จะช่วยแก้ให้ถูกมากยิ่งขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้    

 วิธีที่เราเขียนสามารถนำมาอนเด็กๆได้จริงโดยสิ่งที่ครูอธิบายทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยอะิบายทีละขั้นตอน

การประเมิน

 ตนเอง : เข้าใจในการสอนในเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
 เพื่อน : ทุกคนตั้งใจอธิบายการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าตามความคิดของตนเอง
 อาจารย์ : อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอน อธิบายทีละขั้นตอนเมื่อนักศึกษายังอธิบายไม่ถูกต้องก็จะช่วยนักศึกษา

อ้างอิง จาก  จุฑาทิพย์ ตาบุญมา  เนื่องจากไม่มาเรียน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก

ความรู้ที่ได้รับ
      
       อาจารย์แนะนำเกมการศึกษา และนำตัวอย่างมาให้ดู เช่น 
เกมจับคู่
  - ลักษณะ, รูปทรง, รูปร่าง, สี, ภาพเงา
 
ต่อบล็อก 2 มิติ, 3 มิติ
การสานกระดาษในรูปร่างต่างๆเช่น 
 เกมลอตโต



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สาน กระดาษ ลาย ต่างๆ



โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทำโดยการแบ่งกันทำชิ้นงาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


    สิ่งที่คุณครูแนะนำให้นักศึกษาทำเป็นเกมการศึกษาที่สามารถนำไปบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆได้ และต้องเป็นเกมที่ทนใช้ได้นาน และสามารถนำมาเล่นได้

การประเมิน

 ตนเอง : ตไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไหร่เนื่องจากไม่สบาย คุยกับเพื่อน 
 เพื่อน :  เพื่อนๆสนใจในการทำเกมการศึกษา และตั้งใจฟังอาจารย์ 
 อาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนนักศึกษา หาตัวอย่างในการสอนมาตลอด อธิบายการสอนได้เข้าใจง่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก

ความรู้ที่ได้รับ 

หลักสูตรเป็นแนวทางเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้มีประสิทธิภาพ

สาระที่ควรเรียนรู้

- ประสบการณ์สำคัญ
- สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

ร่างกาย       - การเคลื่อนไหว 
อารมณ์       - การแสดงความรู้สึก
                  - การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น / ตอบโต้
สังคม         -  คุณธรรม  จริยธรรม
                  - เมื่อเด็กทำได้ก็จะเกิดความเชื่อมั่น
สติปัญญา   - สามารถอธิบาย
                  - ภาษา   ----> ฟัง
                                ----> พูด
                                ----> อ่าน 
                                ---->  เขียน
                  - การคิด  ----> สร้างสรรค์
                                ---->  เหตุผล  ----> คณิตศาสตร์
                                                     ----> วิทยาศาสตร์

6 กิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้
- เคลื่อนไหวและจังหวะ
- ศิลปะ  สร้างสรรค์ / จินตนาการ / แสดงความรู้สึก / กล้ามเนื้อมัดเล็กกับตา
- เสรี     เล่นบทบาทสมมติ / สังคม / สติปัญญา / สังคม
- เสริมประสบการณ์  สติปัญญา
- กลางแจ้ง   ร่างกาย / สุขอนามัย
- เกมการศึกษา  สติปัญญา

การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

     เรื่องที่เรียนในวันนี้เป็นความรู้พื้นฐานของการเขียนแผนการสอนว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทำให้เราได้เข้าใจการเขียนแผนที่ถูกต้อง 

การประเมิน

อาจารย์ : อาจารย์ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นใน หกกิจกรรมว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
เพื่อน    : เพื่อนคนไหนมีข้อสงสัยก็สอบถามอาจารย์และเพื่อนๆ
ตนเอง   : ทำให้เข้าใจกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในเรื่องการใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์ 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธ  ที่ 15 มีนาคม 2560

ความรู้ได้รับ

 อาจารย์ได้ให้ตัวอย่างของสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์



                         ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือกันทำงาน โดยการแบ่งสีกระดาษ 


และติดชื่อวันทั้ง 7 วัน


ประเมิน
อาจารย์ : ให้ข้อมูลในการทำงานเป็นอย่างดี 
เพื่อน : ช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ ตอบถามเมื่อเพื่อนถาม
ตนเอง : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายและได้ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ ดุ๊ ก ดิ๊ ก เคลื่อนไหว การ์ตูนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ ดุ๊ ก ดิ๊ ก เคลื่อนไหว การ์ตูนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ ดุ๊ ก ดิ๊ ก เคลื่อนไหว การ์ตูนผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ ดุ๊ ก ดิ๊ ก เคลื่อนไหว การ์ตูน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธ  ที่ 15 มีนาคม 2560

ความรู้ที่ได้รับ

           เมื่อไรเด็กให้แทนค่าเป็นตัวเลข การนับ เรขาคณิตนำมาทำกิจกรรมที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น โดยการนำไม้ขีดไฟและดินน้ำมันทำให้เป็นรูปเรขาคณิตที่ชอบ เช่น ชอบรูปสามเหลี่ยนนำไม้ขีดไฟมาทำเป็นรูปสามเหลี่ยม และปั้นดินน้ำมันก้อนเล็กๆเป็นตัวเชื่อม และจับคู่เพื่อนที่ทำรูปสามเหลี่ยมเหมือนกัน และทำให้รูปสามเหลี่ยมเป็นสามมิติ กิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมศึลปะ




เมื่อเป็นกิจกรรมในห้อง ทุกคนต้องทำผลงานศิลปะมารวมกัน สิ่งที่ได้ได้รับคือ
- เรขาคณิต
- การเปรียบเทียบ
- การแยกกลุ่ม


 กิจกรรมตัวอย่าง

1.เลือกผลไม้สองชนิด
2.วิเคราห์ลักษณะผลไม้ เช่น  สี ทรง ขนาด ส่วนประกอบ
3.ศึกษาความสัมพันธ์  เหมือน-ต่าง
4.สำรวจความชอบที่มีต่อผลไม้ของผู้เรียน

นำเสนอสื่อ (โดมิโน่)
สิ่งที่ต้องนำมาปรับปรุง
- โจทย์ต้องมีเฉลยเพื่อให้เด็กตรวจเอง
- ใช้เลขฐาน 10
- ทำกล่องเก็บอุปกรณ์

การนำไปใช้ในชีวตประจำวัน

  ความรู้เรื่องเรขาคณิตสามารถนำมาทำเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสอนเด็กๆให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น นำมาเชื่องโยงถึงจำนวน การเปรียนเทียบ การแยกกลุ่มได้อีกมากมาย มีความรู้เรื่อง ด้าน มุม

ประเมิน

อาจารย์ : อาจารย์ให้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์เรขาคณิตสนุกมากๆและยังได้ความรู้อีกมากมาย
เพื่อน : ทุกๆคนมีความสนุกกับกิจกรรม รู้จักการแก้ปัญหา
ตนเอง : รู้สึกเข้าใจรูปทรงเรขาคณิตมากขึ้นจากกิจกรรมสร้างสรรค์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 8 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ  ที่  8 มีนาคม 2560

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ความรู้ที่ได้รับ


นิติสัมพันธ์ (นับลูกอมในขวดโหล)

         สิ่งที่เด็กๆได้คือการนับ ว่าลูกอมในขวดโหลนั้นมีทั้งหมดกี่เม็ด ฝึกการคาดคะเนใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตรฐาน ค.ป.4.1


การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเลขกำกับไว้สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตรฐาน ค.ป.1.1 


         ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่นในรูปมีกระดุมทั้งหมด 25 เม็ด จะใช้เกณฑืว่ากระดุมที่มีสีดำกับกระดุมที่ไม่มีสีดำแบบไหนมีเยอะกว่ากัน

สิ่งที่เด็กได้รับ
- แทนค่าด้วยตัวเลข
- จำนวน
-การจัดประเภทต้องหาเกณฑ์



         ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เรื่องการต่าย โดยแบ่งเป็นการสอน 5 วัน ซึ่งได้วางแผนเรื่องที่จะสอนไว้ทั้งหมด 5 เรื่อง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เรื่องที่คุณครูนำมาสอนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว แต่ควรอยู่ในความเหมาะสม เช่นเรื่องลูกอมควรจะเปลี่ยนเป็นเรื่องกระดุมแทน เพราะลูกอมถือว่าเป็นขนมแล้วเด็กๆอยากกกิน จึงอาจทำให้ฟันผุได้

ประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจร่วมกันทำงานกลุ่มกับเพื่อนช่วยหาเกี่ยวกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
อาจารย์ : แนะนำการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สอนอย่างตั้งใจ
เพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเอง สนใจการเรียน




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 1 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่  1  มีนาคม  2560



ความรู้ที่ได้รับ
โดมิโน่


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โดมิโน่ คณิตศาสตร์


                 เราได้คิดสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาตร์ง่ายๆ  ซึ่งเราได้สื่อต้นแบบที่มีชื่อว่า "โดมิโน่เรขาคณิต" 

อุปกรณ์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระดาษ ร้อยปอนด์
กระดาษร้อยปอนด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระดาษสี

กระดาษสี แผ่นเคลือบใส ปากกาเมจิก กล่องใสใส่โดมิโน่


ลักษณะของสื่อ

สื่อชนิดนี้เด็กจะได้รับประสบการณ์จากการเห็น สัมผัส ได้ลงมือทำและคิด


ขั้นตอนการทำ


1.เตรียมกระดาษ A4 ตัดตามขนาดที่ต้องการ แบ่งเป้น 2 ด้าน
2.ตัดกระดาษสีตามรูปทรงต่างๆ แล้วแปะลงในกระดาษ A4
3.เคลือบแผ่นใส 

สิ่งที่เด็กได้รับ

1.เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้านรูปทรงได้ชัดเจน
2.การสังเกตรูปทรงที่เหมือนกัน
3.ช่วยให้เด็กได้คิดและแก้ปัญหา
5.ช่วยให้เด็กได้มีประสบการณ์จากนามธรรมสู่รูปธรรม

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจเรียนและได้ตั้งใจออกไปนำเสนองานที่อาจารย์ได้ให้หามานำเสนอ
อาจารย์ ตั้งใจสอนอย่างมาก แนะนำเกี่ยวกับสื่อที่นักศึกษาหามานำเสนอเพื่อเป้นแนวทางที่ถูกต้อง 
เพื่อน ตั้งใจนำเสนองาน และได้ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองาน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7



วันพุธ  ที่  15 กุมภาพันธ์ พ..2560


ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach เรื่อง ข้าวของพ่อ สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง แบ่งการดำเนินเป็น 3 ระยะ ได้แก่
-          ระยะที่ 1  ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตั้งคำถามที่น่าสนใจ
-          ระยะที่  ระยะพัฒนา ครูจัดประสบการณ์ขึ้นมาให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ เด็กและครูได้ทำ ไข่พระอาทิตย์ ร่วมกัน
-          ระยะที่ 3  ระยะสรุป ครูเปิดโอกาสให้เด็กมีความรู้ จากการทำกิจกรรม และเด็กยังได้ใช้และเรียนรู้กระบวนการทำกิจกรรม โดยใช้หลัก STEM 



    



สื่อนวัตกรรมการสอน
บางทีเด็กอาจไม่สามรถทำได้  แต่ควรย้ำว่าให้ลองอีกที เด็กขึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้
สนุกกับเลข 
- เด็กมีส่วนร่วมในการสอน
- ตั้งโจทย์เอง มีข้อตกลง


แผนการจัดการเรียนรู้

  ในการจัดการเรียนรู้ของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒการทักษะ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

   จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานในวันนี้ เรื่องที่น่าสนใจมากๆก็คือการสอนวิธี Project Approach วิธีการสอบแบบนี้จะสามารถทำให้เด็กร้ลึกรู้จริง และยังรู้อีกว่า แผนการสอนของรัฐบาลและเอกชนอตกต่างกัน

ประเมิน

ตนเอง : มีความสนใจเรื่อง Project Approach แต่มีบางอย่างต้องให้รุ่นพี่บอกและให้คำปรึกษา
เพื่อน : ให้ความสนใจของการทำไข่พระอาทิตย์ และเดินชมงานอย่างตั้งใจ 
อาจารย์ : มีการเสริมให้ความรู้ตลอดเวลา 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


◈สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 

     สาระที่ 3 เรขาคณิต มาตราฐาน

ค.ป. 3.1. : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตราฐาน
ค.ป. 3.2. : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

   ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งของนั้นๆ
   รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ 
-ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
-รูปทรงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 

      สาระที่ 4 พีชคณิต

ค.ป. 4.1. : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พีชคณิตรูปและความสัมพันธ์


     สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 


-การเก็บข้อมูลและการนำเสนอ 
การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย 


สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาตร์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ประเมิน 

ตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์แต่ก็คุยกับเพื่อน สงสัยก็ถามอาจารย์ 
เพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์แต่ก็มีนั่งคุยกับเพื่อน 
อาจารย์ ตั้งใจสอนนักศึกษาอย่างมาก มีการทบทวนที่เรียน เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้ถามเมื่อไม่เข้าใจ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก
     


วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


   ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
      มี 4 ประเภท ได้เเก่
   1.ความรู้ทางกายภาพ เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
   2.ความรู้ทางสังคม เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น 1 สัปดาห์มี 7วัน  ,1 ปีมี 12 เดือน
   3.ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ การเข้าใจความสัมพันธ์สิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ ทดลอง
เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
  4.ความรู้เชิงสัญลักษณ์ การเเสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน เช่น การนับผลไม้ในตะกร้าและสามารถวาดวงกลมแทนจำนวนได้


สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คริตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานเป็นการประเมินขั้นต่ำ และใช้ในการประเมินเเละตัดสินใจ
  สาระที่ 1  จำนวนเเละการดำเนินการ เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮืนดูมาเป็นตัวกำกับ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

   จำนวน
  - การใช้จำนวนบอกปริมาณได้
  - การเปรียบเทียบจำนวน
  - การเปรียบเทียบจำนวน
  - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
  - การเรียงลำดับจำนวน
  - การอ่านตัวเลขฮินดูและเลขไทย
   การรวบรวมและการแบ่งกลุ่ม
  - ความหมายของการรวม
  - การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มโดดยคำนึงว่าสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันเเละสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
  - ความหมายของการจำแนก
  - การเเยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่


 สาระที่ 2  การวัด  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินเเละเวลา
   ความยาว น้ำหนักและปริมาณ
  - การเปรียบเทียบ / การวัด  / การเรียงลำดับน้ำหนัก
  - การเปรียบเทียบปริมาตร / ดวง
  เงิน ชนิดและค่าของเงิน
  เวลา ช่วงเวลาในเเต่ละวัน
  - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน



เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

          เพลงซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรง   ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นเเหละ

          เพลงนกกระจิบ
นั่นนก             บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ               1  2  3  4  5
อีกฝูกบินล่องลอยมา    6  7  8  9  10 ตัว


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    การเเบ่งกลุ่มสามารถแบ่งได้หลายวิธีแล้วเเด่การออกแบบ และเพลงเด็กสามารถนำไปใช้การการสอนเด็กปฐมวัยได้

การประเมินผล
    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม
    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย แนะนำนักศึกษาเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ


การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก


   ความรู้ที่ได้รับ

ความหมายของคณิตศาสตร์
        การคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน 
เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาความสำคัญของคณิตศาสตร์าถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง 

        คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผล เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิวัยรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก


ประโยชน์ของคณิศาสตร์
        ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 การนับ Counting
 ตัวเลข Number
 การจับคู่ Matching
 การจัดประเภท Classification
 การเปรียบเทียบ Comparing
 การจัดลำดับ Ordering
 การวัด Meusurement
 เศษส่วน Fraction
 เซ็ต Set
 รูปทรงหรือเนื้อที่ Shape and Space
 การทำตามหรือลวดลาย Patterning
 การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation


เพลงคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          เพลง นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว   มือขวาก็มีห้านิ้ว
         นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า    นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ



          เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้   น้องขอให้แย่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป   นับดูใหม่เหบือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)


          เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

         มีการเรียนการสอนเเบบแบ่งกลุุ่ม เเบ่งเด็กที่ตื่นนอนก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 หลังหกโมงเช้า โดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถสอนเรื่องเวลาเเละการนับจำนวนได้


การประเมินผล
        ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นบางครั้ง ตอบคำถามอาจารย์เมื่อถาม
        อาจารย์ : มีการเตรียมการสอนอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย
        เพื่อน : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเส้นดุ๊กดิ๊ก