การเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม
เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
→ การนับ
→จับคู่ 1ต่อ1
→ เปรียบเทียบรูปทรง
→ เรียงลำดับ
→ จับกลุ่ม
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องมีความปลอดภัยและเหมาะสมกับการเรียนรู้
➤ เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)
ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้แบ่งเป็น 3
ขั้นใหญ่ๆ ดังนี้
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enavtive
Stage) ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage)
สร้างมโนภาพในใจได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic
Stage) เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
➤เลฟ ไวก๊อตกี้ (Lev Vygotsky)
"เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา
และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุนและเพิ่มพัฒนาการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า
เจตคติ(Internalize)"
- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มี สมรรถนะ(Competency)
- "นั่งร้าน"(Scaffold) เป็นการสนับสนุนของผู้ใหญ่ให่การช่วยเหลือกับเด็ก
- ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย
เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพลง...ขวด 5 ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1
ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
เพลง...เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา สี่ขา
เท่ากัน
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย
เพลง...บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆสิเออ ดูสิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ นับดูสิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ
การประเมิน
ตนเอง
เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียนในคาบนี้
ทำให้ไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดในการเรียนเท่าที่ควร
แต่ได้ทำการสอบถามจากเพื่อนว่าในวันนี้อาจารย์ผู้สอนได้สอนอะไรบ้าง
อาจารย์
อาจารย์ผู้สอนได้มีการใช้เทคนิคต่างๆในการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้
มีการตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิดและได้ฝึกการตอบคำถาม
เพื่อน
สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น
แต่ในส่วนของจอโปรเจ็กเตอร์มีปัญหาเล็กน้อย ทำให้มองด้วยความลำบาก
### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้
จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาว กรรณิการ์ เกตมุติ ###
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น